โรงเรียนวัดคูยาง
ถนนราชดำเนิน  ตำบลในเมือง  อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร 62000
ผลงานครู
เจ้าของผลงาน
ชื่ออาจารย์ : นางสาวชัญญานภัสถ์ บุดดี
ตำแหน่ง : ครูชำนาญการ
เบอร์โทรศัพท์ :
อีเมล :
โพสเมื่อ : 08 พ.ค. 2568,15:02  อ่าน 9 ครั้ง
ชื่อผลงาน : การออกแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกตามรูปแบบ ADDIE Model ร่วมกับการใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน (5E’s) เรื่อง การออกแบบอัลกอริทึมด้วยการเขียนผังงานสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดคูยาง
รายละเอียดผลงาน
ในปัจจุบันเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อชีวิตประจำวันของทุกคน รวมไปถึงการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 (COVID-19)  ที่ส่งผลกระทบต่อระบบการศึกษาแบบดั้งเดิมที่เน้นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในห้องเรียนเป็นหลัก  เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตจึงเป็นตัวช่วยที่ดี ที่ทำให้การศึกษาสามารถดำเนินต่อไปได้แม้จะต้องมีการเว้นระยะห่างทางสังคม  นอกจากนี้  เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตยังมีศักยภาพที่จะยกระดับคุณภาพการศึกษา และช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลาอีกด้วย
          การนำเทคโนโลยีมาเข้ามาใช้ในการจัดการเรียนการสอน โดยผสมผสานเข้ากับรูปแบบการสอนแบบดั้งเดิมนั้นมีอยู่หลายรูปแบบ เช่น การเรียนออนไลน์ที่เป็นรูปแบบการสอนที่นักเรียนเรียนผ่านระบบอินเทอร์เน็ต โดยไม่ต้องไปที่โรงเรียน แต่นักเรียนสามารถเรียนได้ทุกที่ทุกเวลา ผ่านอุปกรณ์ต่างๆ เช่น   คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต หรือสมาร์ทโฟน โดยเป็นการเรียนผ่านวิดีโอ การเรียนผ่านระบบการประชุมออนไลน์ การเรียนผ่านบทเรียนออนไลน์ หรือระบบการจัดการเรียนการสอน (LMS) เป็นต้น ซึ่งรูปแบบการเรียนรู้ข้างต้น ล้วนสามารถช่วยให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาความรู้ของตนเองได้มากขึ้นทั้งสิ้น นอกจากที่ผู้เรียนจะได้เรียนรู้เนื้อหาความรู้ต่างๆในบทเรียนแล้ว ผู้เรียนยังได้พัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีที่เป็นสมรรถนะสำคัญตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และทักษะที่สำคัญในศตวรรษที่ 21 ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพและพร้อมสำหรับการเผชิญชีวิตในโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในอนาคตได้
          การจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อเทคโนโลยีนั้นทำให้ผู้เรียนสามารถเข้าไปศึกษาหาความรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา จึงเป็นการฝึกให้ผู้เรียนมีความใฝ่รู้ ใฝ่เรียน รู้จักแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ส่วนผู้สอนก็สามารถจัดทำสื่อการเรียนรู้ และออกแบบกิจกรรมที่ช่วยสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับผู้เรียนได้อย่างหลากหลาย ช่วยส่งผลให้กระบวนการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

          กระบวนการการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) หมายถึง กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน ได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ เพื่อเรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการทำงานเป็นทีม การเป็นผู้นำ และผู้ตาม ซึ่งหนึ่งในรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบเชิงรุก (Active Learning) รูปแบบการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน (The 5E’s of Inquiry-Based Learning) นั้น สามารถสนับสนุนให้ผู้เรียนสามารถค้นพบความรู้หรือเชื่อมโยงความรู้ที่มีอยู่เดิม หาแนวทางแก้ปัญหาได้ตัวเอง และนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสวงหาและศึกษาค้นคว้า ลงมือปฏิบัติเพื่อสร้างองค์ความรู้ของตนเอง ผู้สอนมีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการสนับสนุนให้ผู้เรียนแสดงบทบาทของตนเองอย่างเต็มที่ เพื่อสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยมีขั้นตอนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน ดังนี้
          1.การสร้างความสนใจ (Engagement) โดยผู้สอนควรสร้างความสนใจ สร้างความอยากรู้อยากเห็น มีการตั้ง คําถามกระตุ้นให้ผู้เรียนคิดดึงเอาคําตอบที่ยังไม่ครอบคลุมสิ่งที่ผู้เรียนรู้หรือแนวคิดหรือเนื้อหา  
          2. การสํารวจและค้นหา (Exploration) ส่งเสริมให้ผู้เรียนทำงานร่วมกัน  การสํารวจ ตรวจสอบ สังเกตและฟังการโต้ตอบกันระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน ทำการซักถามเพื่อนําไปสู่การสํารวจตรวจสอบของผู้เรียน และให้เวลาผู้เรียนในการคิดข้อสงสัยตลอดจนปัญหาต่าง ๆ และทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่ผู้เรียน
          3. การอธิบายและลงข้อสรุป (Explanation) โดยผู้สอนส่งเสริมให้ผู้เรียนอธิบายแนวคิด หรือให้คําจํากัดความ ด้วยคําพูดของผู้เรียนเอง ให้ผู้เรียนแสดงหลักฐาน ให้เหตุผลและอธิบายให้กระจ่าง ให้ผู้เรียนอธิบาย ให้คําจํากัดความและ ชี้บอกส่วนต่าง ๆ ในแผนภาพให้ผู้เรียนใช้ประสบการณ์เดิมของตนเป็นพื้นฐานในการอธิบายแนวคิด
          4. การขยายความรู้ (Elaboration) โดยผู้สอนคาดหวังให้ผู้เรียนได้ใช้ประโยชน์จากการชี้บอก ส่วนประกอบต่าง ๆ ในแผนภาพคําจํากัดความและอธิบายสิ่งที่เรียนรู้มาแล้ว ส่งเสริมให้ผู้เรียนนําสิ่งที่ผู้เรียนได้เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้หรือ ขยายความรู้และทักษะในสถานการณ์ใหม่ ให้ผู้เรียนอธิบายอย่างมีความหมาย ให้ผู้เรียนอ้างอิงข้อมูลที่มีอยู่พร้อมทั้งแสดง หลักฐานและถามคําถามผู้เรียนว่าได้เรียนรู้อะไรบ้าง หรือได้แนวคิดอะไร
          5. การประเมินผล (Evaluation) โดยผู้สอนสังเกตผู้เรียนในการนําแนวคิดและทักษะใหม่ไปประยุกต์ใช้ประเมิน ความรู้และทักษะผู้เรียน หาหลักฐานที่แสดงว่าผู้เรียนเปลี่ยนความคิดหรือพฤติกรรม ให้ผู้เรียนประเมินการเรียนรู้และ ทักษะกระบวนการกลุ่ม ถามคําถามปลายเปิด เช่น ทําไมผู้เรียนจึงคิดเช่นนั้น
Adobe Acrobat Document ดาวน์โหลดไฟล์   ขนาดไฟล์